พระเทวีจากหอพระอิศวร เมืองนครศรีธรรมราช พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จ.นครศรีธรรมราช
รูปแบบศิลปะ ในอินเดียใต้ตั้งแต่ศิลปะโจฬะและวิชัยนครเป็นต้นไป ประติมากรรมสำริดเทพเจ้าต่างๆมักขนาบข้างด้วยรูปพระเทวีเสมอ โดยพระเทวีนี้มักมีสองกร ประทับยืนตริภังค์โดยพระหัตถ์หนึ่งยกขึ้นถือดอกไม้ด้วยกฏกมุทรา ส่วนพระหัตถ์อีกข้างทิ้งลงข้างพระวรกายเสมอ ที่พระอุระบางครั้งปรากฏกุฉพันธะหรือผ้ารัดพระอุระซึ่งเป็นลักษณะที่นิยมในศิลปะอินเดียใต้เช่นกัน การที่ประติมากรมซึ่งค้นพบที่นครศรีธรรมราชชิ้นนี้มีระเบียบเช่นเดียวกับศิลปะอินเดียใต้ ก็ย่อมแสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนย้ายของพราหมณ์และกลุ่มช่างจากอินเดียใต้เข้ามาสู่นครศรีธรรมราชอย่างไม่ต้องสงสัย ประติมานวิทยา ประติมากรรมพระเทวีที่ออกแบบสำหรับการประทับยืนคู่กับเทพเจ้าบุรุษในศิลปะอินเดียใต้ มักถือดอกไม้เสมอ ด้วยเหตุนี้ตัวประติมากรรมเองจึงไม่ได้แสดงให้เห็นว่าพระนางคือใคร ดังนั้น ถ้าประติมากรรมดังกล่าวประทับยืนคู่กับพระศิวะ