รูปแบบศิลปะ
ภายในอุโบสถวัดท้าวโคตร ยังพบงานจิตรกรรมด้วย โดยเขียนไว้บนคอสองทั้งสองข้างเล่าเรื่องพุทธประวัติ และทศชาติชาดการเขียนภาพที่เริ่มรู้จักใช้แสงเงา เริ่มมีการใช้เส้นขอบฟ้า และระบายสีท้องฟ้าค่อนข้างสว่าง เป็นลักษณะหนึ่งของงานจิตรกรรมสมัยรัชกาล 3 – 4
ประติมานวิทยา
ในแต่ละช่องภาพที่ปรากฏได้เขียนฉากเหตุการณ์ในพุทธประวัติ ในช่องภาพซ้าย ส่วนด้านล่างสุดปรากฏภาพพระพุทธเจ้ากำลังอยู่ในพระอิริยาบถบรรทม ที่พระบาทเขียนภาพพระอินทร์กำลังดีดพิณเพื่อเตือนให้พระองค์ตระหนักถึงทางสายกลาง ส่วนภาพด้านบนเป็นแกที่พระพุทธเจ้ารับข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดา สำหรับช่องภาพด้านขวาได้เล่าเรื่องต่อเนื่องมา โดยเริ่มจากด้านซ้ายมือเป็นฉากพระพุทธองค์ลอยถาดเสี่ยงทายว่าพระองค์จะสำเร็จมรรคผลหรือไม่ และถาดดังกล่าวได้ลอยทวนน้ำและจมลงสู่เมืองพญานาคซึ่งแสดงด้วยภาพพญานาคในร่างมนุษย์กำลังพนมมือเพื่อรับถาดที่จมลงมา ส่วนภาพทางด้านขวาเป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งสมาธิอยู่ใต้ต้นโพธิ ซึ่งอาจหมายถึงเหตุการณ์หลังจากลอยถาดเสี่ยงทายแล้ว พระองค์ได้เข้าสู่สมาธิ และจะตรัสรู้ในเวลาต่อมา